การวัดและประเมินผล เป็นการตรวจสอบผู้เรียนว่าเกิดการเรียนรู้ตามที่กำหนดในจุดประสงค์หรือไม่ เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผล มีแนวการเขียน คือ ระบุวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ ระบุเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล ระบุเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน ระบุเวลาของการวัดผล (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน) และระบุเนื้อหาที่ต้องวัดให้ชัดเจน
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ให้เขียนบอกรายละเอียดของผลการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ คือบอกจำนวนผู้เรียนที่มีพฤติกรรมด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการและคุณธรรม ค่านิยม โดยให้บอกในเชิงปริมาณและคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค ให้เขียนบอกรายละเอียดของปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างจัดกระบวนการเรียนรู้ หรือปัญหา อุปสรรคที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ไม่ประสบผลสำเร็จ ตลอดจนข้อค้นพบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน ในส่วนของแนวทางแก้ไข ให้เขียนบอกรายละเอียดของแนวทางแก้ไขที่นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาที่ระบุไว้ข้างต้น โดยบอกถึงวิธีการ หรือเครื่องมือที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา ครูควรเขียนสะท้อนผลการเรียนรู้ โดยเขียนบอกรายละเอียดของบรรยากาศในห้องเรียน ความสนุกสนาน ความร่วมมือในกิจกรรม ความกระตือรือร้น ความประทับใจ หรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไปดีขึ้น
อ้างอิง : สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น