หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566

การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ นับเป็นหัวใจของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยทั่วไปนิยมเขียนใน 2 ลักษณะ คือ (1) จุดประสงค์ปลายทางหรือจุดประสงค์ทั่วไป และ (2) จุดประสงค์การนำทางหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

                           (1) จุดประสงค์ปลายทางหรือจุดประสงค์ทั่วไป คือ จุดประสงค์ที่เน้นไปที่เป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นจุดประสงค์ที่เน้นองค์รวม วิธีการเขียนจุดประสงค์ประเภทนี้จะใช้คำกว้าง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น

                            - เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องทศนิยม

                            - เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการใช้เงิน

                            -เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงประโยชน์ของสถิติในชีวิตประจำวัน

                           (2) จุดประสงค์การนำทางหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ จุดประสงค์ที่ระบุถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยเน้นพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้อย่างชัดเจน 3 ด้าน คือ ด้านสติปัญญา (พุทธิพิสัย) ด้านทักษะ (ทักษะพิสัย) และด้านเจตคติ (จิตพิสัย) ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของเบนจามิน บลูม และคณะ (Bloom et, al, 1956: 10-24) ที่ได้จำแนกจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

                                  a. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

                                  b. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

                                  c. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)

การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพนั้น ควรเขียนให้มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 

                                1. สถานการณ์ เงื่อนไข ต้นเหตุ หรือองค์ความรู้ 

                                2. พฤติกรรมหรือเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้น 

                                3. เกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ทำให้บรรลุเป้าหมาย 

โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านนี้สามารถเขียนสลับที่กันได้ ทั้งนี้ควรใช้คำกริยาที่ระบุพฤติกรรมหรือเงื่อนไขที่ละเอียดและชัดเจน เช่น

                    - เมื่อนักเรียนอ่านสถานการณ์ปัญหาในใบงานที่ 6.1 แล้วสามารถแสดงวิธีการแก้ปัญหาได้ถูกต้องอย่างน้อย 5 ข้อ

                    - นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของเศษส่วนได้ถูกต้อง

                    - นักเรียนสามารถยกตัวอย่างรูปเรชาคณิตในชีวิตประจำวันได้อย่างน้อย 4 ตัวอย่าง

                    ฯลฯ


อ้างอิง : สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น