หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
Population and Samples

ประชากร
ประชากร(Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ

กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างกลุ่ม(Sample)หมายถึง  เป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่างที่ดีหมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างๆที่สำคัญครบถ้วนเหมือนกับกลุ่มประชากร เป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากรได้
       การใช้กลุ่มตัวอย่างมาศึกษาค่าสถิติ(statistics) ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้จากการวิเคราะห์กับกลุ่มตัวอย่าง อาจจะมีความผิดพลาดได้เมื่อนำไปใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ (parameter)  หรือลักษณะของประชากร (characteristics of population)   บางครั้งค่าสถิติที่ได้อาจประมาณต่ำกว่าค่าพารามิเตอร์ (underestimation) หรือประมาณเกินกว่าความเป็นจริงของลักษณะประชากร (overestimation) ซึ่งถ้าทำการศึกษาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างประชากรจากประชากรเดิม (parent population) ด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่าเดิมโดยวิธีการสุ่ม(random) และใช้หลักการสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็น  (probability  sampling) ความแปรผันของการประมาณค่าพารามิเตอร์จากการแจกแจงค่าสถิติที่นำมาใช้ในการประมาณจะแปรผันตามขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการแจกแจงของค่าสถิตินี้จะมีลักษณะการแจกแจงเข้าสู่การแจกแจงปกติ (normal distribution)  ซึ่งเรียกว่าการแจกแจงเชิงสุ่ม (sampling distribution)  โดยค่าคาดหวังของค่าสถิติตจะมีค่าเท่ากับค่าพารามิเตอร์ ความแปรผันหรือความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า ให้เป็นความเคลื่อนแบบสุ่ม (random error) หรือเรียกว่าเป็นความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการเลือกตัวอย่าง (sampling error) หรือเรียกว่าเป็นความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (standard error) (เชิดศักดิ์  โฆวาสินธ์. 2545 : 52)
       ในการวิจัย นักวิจัยไม่ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างหลายๆกลุ่มจากประชากรเดียวกันเพื่อหาการแจกแจงเชิงสุ่ม  แต่จะศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว เพื่อหาการการแจกแจงของกลุ่มตัวอย่าง และให้ใช้ ทฤษฎี central limit theorem เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของการแจกแจงเชิงสุ่ม และการแจงแจงของประชากร  ประมาณค่าพารามิเตอร์และค่าความคลาดมาตรฐานโดยระบุความมั่นใจหรือความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า   ดังนั้นในการใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาแทนประชากรจำเป็นต้องคำนึงถึง ความถูกต้อง (accuracy) ในการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ซึ่งหมายถึง การไม่มีอคติ(bias)ในตัวอย่างที่ถูกเลือก หรือกล่าวได้ว่าโอกาสของการเลือกตัวอย่างมาศึกษาเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงมีพอๆกัน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความแม่นยำในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (precision of estimate) ซึ่งความแม่นยำนี้สามารถวัดได้จากค่าความคลาดเลื่อนในการประมาณค่า โดยค่าความคลาดเลื่อนต่ำจะให้ความแม่นยำในการประมาณค่าสูง ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นความคลาดเคลื่อนจากการเลือกหน่วยตัวอย่าง(sampling error) ที่คาดเคลื่อนไปจากค่าพารามิเตอร์
       การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้นมีอยู่สองหลักการใหญ่คือ

1) หลักการอาศัยความน่าจะเป็น (probability sampling) หรือการเลือกอย่างสุ่ม (random selection) ซึ่งเป็นหลักการที่สมาชิกของประชากรแต่ละหน่วยมีความน่าจะเป็นในการถูกเลือกเท่าๆกันและทราบความน่าจะเป็นนั้น 

2) ไม่ใช้หลักการความน่าจะเป็น (nonprobability sampling)  เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ความน่าจะเป็นในการถูกเลือกของแต่ละหน่วยตัวอย่างไม่เท่ากัน หรือบางหน่วยมีโอกาสที่จะไม่ถูกเลือก
       ดังนั้นในการจะเห็นได้ว่าในการที่จะได้ว่าถ้าเราเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น จะทำให้การประมาณค่าพารามิเตอร์ได้แม่นยำกว่า

ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
  • กำหนด/นิยามประชากรเป้าหมาย
  •    รวบรวมสมาชิกทั้งหมดของประชากร
  •    กำหนดหน่วยของการสุ่มตัวอย่าง
  •    วางแผนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
  •    ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
1. กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์
  •    จำนวนประชากรหลักร้อยใช้กลุ่มตัวอย่าง 15 – 30%
  •    จำนวนประชากรหลักพันใช้กลุ่มตัวอย่าง 10 – 15%
  •    จำนวนประชากรหลักหมื่นใช้กลุ่มตัวอย่าง 5 – 10 %

2.ใช้สูตรคำนวณ
2.1 กรณีไม่ทราบค่าพารามิเตอร์ ไม่ทราบจำนวนประชากร ทราบเพียงแต่ว่ามีจำนวนมาก
2.2 กรณีที่ทราบจำนวนประชากรและมีจำนวนไม่มาก

3.กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan

ตารางแสดงจำนวนประชากรและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ของ Krejcie and Morgan

จำนวนประชากร
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนประชากร
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนประชากร
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
10
15
20
25
30
35
40
45
50
55
60
65
70
75
80
85
90
95
100
110
120
130
140
150
160
170
180
190
200
210
10
14
19
24
28
32
36
40
44
48
52
56
59
63
66
70
73
76
80
86
92
97
103
108
113
118
123
127
132
136
220
230
240
250
260
270
280
290
300
320
340
360
380
400
420
440
460
480
500
550
600
650
700
750
800
850
900
950
1000
1100
140
144
148
152
155
159
162
165
169
175
181
186
191
196
201
205
210
214
217
226
234
242
248
254
260
265
269
274
278
285
1200
1300
1400
1500
1600
1700
1800
1900
2000
2200
2400
2600
2800
3000
3500
4000
4500
5000
6000
7000
8000
9000
10000
15000
20000
30000
40000
50000
75000
100000
291
297
302
306
310
313
317
320
322
327
331
335
338
341
346
351
354
357
361
364
367
368
370
375
377
379
380
381
382
384


เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
1.การสุ่มโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น
      ในบางครั้งการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น โดยวิธีการสุ่มอาจจะไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นจึงถูกนำมาใช้ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้จะมีลักษณะเป็นอัตวิสัย (subjective)  ซึ่งมักจะทำให้การประมาณค่าพารามิเตอร์ขาดความแม่นยำ  ดังนั้นในการเลือกกลลุ่มตัวอย่างแบบนี้มักจะใช้เมื่อไม่ต้องการอ้างอิงถึงลักษณะประชากร ส่วนใหญ่จะใช้กับงานวิจัยสำรวจข้อเท้จจริง (Exploration research) กับกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะและไม่ต้องการเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลทางด้านค่าใช้จ่ายและเวลา เพราะการเลือกตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าเป็นจะมีค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยกว่าอาศัยความน่าจะเป็น
1.1 การสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการสุ่มจาก
สมาชิกของประชากรเป้าหมายที่เป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วน การสุ่มโดยวิธีนี้ไม่สามารถรับประกันความแม่นยำได้ ซึ่งการเลือกวิธีนี้เป็นวิธีที่ด้อยที่สุด เพราะเป็นการเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับนิยามของประชากรที่สามารถพบได้และใช้เป็นอย่างได้ทันที
1.2 การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) เป็นการสุมตัวอย่างโดยจำแนก
ประชากรออกเป็นส่วนๆก่อน (strata)โดยมีหลักจำแนกว่าตัวแปรที่ใช้ในการจำแนกนั้นควรจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่จะรวบรวม หรือตัวแปรที่สนใจ และสมาชิกที่อยู่แต่ละส่วนมีความเป็นเอกพันธ์  ในการสุ่มแบบโควตา นี้มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
               1.2.1 พิจารณาตัวแปรที่สัมพันธ์กับลักษณะของประชากรที่คำถามการวิจัยต้องการที่จะศึกษา เช่น เพศ ระดับการศึกษา
               1.2.2 พิจารณาขนาดของแต่ละส่วน(segment)ของประชากรตามตามตัวแปร
               1.2.3 คำนวณค่าอัตราส่วนของแต่ละส่วนของประชากร กำหนดเป็นโควตาของตัวอย่างแต่ละกลุ่มที่จะเลือก
               1.2. เลือกตัวอย่างในแต่ละส่วนของประชากรให้ได้จำนวนตามโควตา
1.3 การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) หรือบางครั้ง
เรียกว่าการสุ่มแบบพิจารณา (judgment sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ดุลพินิจของผู้วิจัยในการกำหนดสมาชิกของประชากรที่จะมาเป็นสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง ว่ามีลักษณะสอดคล้องหรือเป็นตัวแทนที่จะศึกษาหรือไม่  ข้อจำกัดของการสุ่มตัวอย่างแบบนี้คือไม่สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างที่เลือก จะยังคงลักษณะดังกล่าวหรือไม่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
1.4 การสุมกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยถือเอาความสะดวกหรือความง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล  ข้อจำกัดของการสุ่มแบบนี้จะมีลักษณะเหมือนกับการสุ่มโดยบังเอิญ
           1.5 การสุมตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์  (snowball sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างในลักษณะการสร้างเครือข่ายข้อมูล เรียกว่า snowball sampling โดยเลือกจากหน่วยตัวอย่างกลุ่มแรก (จะใช้หรือไม่ใช้ความน่าจะเป็นก็ได้) และตัวอย่างกลุ่มนี้เสนอบุคคลอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงต่อๆไป

ข้อจำกัดของการสุ่มโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น
1.      ผลการวิจัยไม่สามารถอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้ จะสรุปอยู่ในขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ข้อสรุปนั้นจะสรุปไปหาประชากรได้ต่อเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีลักษณะต่างๆที่สำคัญๆเหมือนกับประชากร
2.     กลุ่มตัวอย่างที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้วิจัยและองค์ประกอบบางตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ และไม่มีวิธีการทางสถิติอย่างไรที่จะมาคำนวณความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการสุ่ม (sampling error)

2. การสุ่มโดยการคำนึงถึงความน่าจะเป็น(probability sampling)
2.1 การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling)
       สมาชิกทั้งหมดของประชากรเป็นอิสระซึ่งกันและกัน  แล้วสุ่มหน่วยของการสุ่ม (Sampling unit) จนกว่าจะได้จำนวนตามที่ต้องการ  โดยแต่ครั้งที่สุ่ม สมาชิกแต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่าเทียมกัน  ซึ่งก่อนที่จะทำการสุ่มนั้น จะต้องนิยามประชากรให้ชัดเจน ทำรายการสมาชิกทั้งหมดของประชากร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีที่ทำให้โอกาสในการของสมาชิกแต่ละหน่วยในการถูกเลือกมีค่าเท่ากัน ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
                 2.1.1 การจับฉลาก
                 2.1.2 การใช้ตารางเลขสุ่ม  (table of random number) ซึ่งตัวเลขในตารางได้มาจากการอาศัยคอมพิวเตอร์กำหนดค่า หรือบางครั้งสามารถใช้วิธีการดึงตัวอย่างโดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูป
       ในการสุ่มอย่างง่าย มีข้อจำกัดคือ ประชากรต้องนับได้ครบถ้วน (finite population) ซึ่งบางครั้งอาจสร้างปัญหาให้กับนักวิจัย

2.2 การสุ่มแบบเป็นระบบ (systematic sampling)
ใช้ในกรณีที่ประชากรมีการจัดเรียงอย่างไม่ลำเอียง
   1) ประชากรหารด้วยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง (K = N/n)
   2) สุ่มหมายเลข 1 ถึง K  (กำหนดสุ่มได้หมายเลข  r )
   3) r จะเป็นหมายเลขเริ่มต้น ลำดับต่อไป r + K, r +2K, r + 3K, …..
การสุ่มแบบเป็นระบบ โอกาสถูกเลือกของตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน เพราะเมื่อตัวอย่างแรกถูกสุ่มแล้ว  ตัวอย่างหน่วยอื่นก็จะถูกกำหนดให้เลือกตามมาโดยอัตโนมัติ โดยไม่มีการสุ่ม
3. การสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling)
เป็นการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่แบ่งกลุ่มประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย (subgroup or
strata) เสียก่อนบน พื้นฐานของตัวแปรที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตัวแปรตาม โดยมีหลักในการจัดแบ่งกลุ่มแต่ละกลุ่มมีความเป็นเอกพันธ์ (Homogeneous) หรือกล่าวได้ว่า ในกลุ่มเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันตามกลุ่มย่อยของตัวแปร  แต่จะมีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม  จำนวนสมาชิกในกลุ่มย่อยจะถูกกำหนดให้เป็นสัดส่วน (proportion) ตามสัดส่วนที่ปรากฏในประชากร ซึ่งเรียกว่า การสุ่มแบบแบ่งชัดโดยใช้สัดสัด (proportion stratified sampling)  การสุ่มแบบแบ่งชั้นจะมีความเหมาะสมกับงานวิจัยที่สนใจความแตกต่างของลักษณะประชากรในระหว่างกลุ่มย่อย


4.การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling)
ในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญ่ การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยจัดกระทำกับรายการสมาชิกทุกๆหน่วยของประชากรอาจทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย ดังนั้นแทนที่จะใช้วิธีการสุมจากทุกหน่วย นักวิจัยสามารถสุ่มจากกลุ่มที่ถูกจัดแบ่งไว้อยู่แล้ว ซึ่งวิธีการแบบนี้เรียกว่าการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling)  สิ่งที่ควรคำนึงถึงการสุ่มแบบกลุ่ม มีดังนี้ (เชิดศักด์  โฆวาสินธ์.2545 : 62)
4.1   ความแตกต่างของลักษณะที่จะศึกษาระหว่างกลุ่ม (cluster) มีไม่มาก หรือเรียกว่ามีความเป็นเอกพันธ์ (homogeneous)
4.2  ขนาดของแต่ละกลุ่ม เท่ากันหรือแตกต่างกันไม่มากนัก เพราะเมื่อเลือกกลุ่มมาเป็นตัวอย่างแล้ว  การประมาณค่าพารามิเตอร์ จะมีลักษณะไม่อคติ (unbias estimation)  มากกว่า กรณีที่กลุ่มตัวอย่างในแต่กลุ่มมีขนาดแตกต่างกันมาก
4.3  ขนาดของกลุ่ม (cluster) ไม่มีคำตอบแน่นอนวาจำนวนหน่วยตัวอย่างที่ศึกษาในแต่ละกลุ่ม จะเป็นเท่าใด ขึ้นอยู่กับคำถามการวิจัยและความยากง่ายในการเก็บข้อมูล
4.4  การใช้วิธีการสุมแบบ multistage cluster sampling แท่นการใช้ single – stage มีเหตุผลดังนี้
å  ขนาดของแต่ละกลุ่ม ที่มีอยู่มีขนาดใหญ่เกินไปเกินกว่าขนาดตามกำหลังทางเศรษฐกิจ
å  สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการแบ่งกลุ่ม ให้มีขนาดเล็กลงในแต่ละกลุ่ม
å  ผลของการแบ่งกลุ่ม (clustering) แม้จะมีขนาดเล็กลงแต่ในระหว่างกลุ่มที่จะศึกษายังมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
å  การเลือกตัวอย่างของ compact cluster ให้ความยุ่งยากในกาเก็บรวบรมข้อมูล
4.5 ขนาดขอกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่ม (cluster) ที่ต้องการในการเทียบเคียงจากการเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าน (simple random sampling) ในการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้จำนวนทั้งหมดของกลุ่ม ที่จัดแบ่งเป็นประชาการที่นำมาใช้ในการคำนวณ

5. การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling)
   เป็นกระบวนการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรซึ่งดำเนินการสุ่มตั้งแต่ 3 ขั้นขึ้นไป


งานวิจัยเชิงสำรวจ

               สวัสดีค่ะนักศึกษาและผู้ที่สนใจ งานวิจัยเชิงสำรวจเป็นงานวิจัยประเภทหนึ่งที่ถือว่าเป็นงานวิจัยสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้และฝึกฝนในการทำวิจัย ซึ่งครูได้กำหนดให้นักศึกษาได้ทำงานวิจัยประเภทนี้ในรายวิชาเรียน ถือว่าเป็น Baby Research หรือวิจัยฉบับจิ๋ว ที่มีระเบียบวิธี ขั้นตอน ครบถ้วน เพียงแต่ความซับซ้อนและเวลาที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้ในระยะหนึ่งภาคเรียน นักศึกษาลองศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ครูรวบรวมมาให้ประกอบกับเอกสารอื่นๆ ในห้องสมุดนะคะ แล้วเจอกันในชั้นเรียนค่ะ ^^
อ.น้ำ

วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจเป็นวิธีวิจัยที่นิยมใช้มากในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยที่ใช้
การศึกษาข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ โดยไม่มีการใส่สิ่งทดลองเข้าไป (Treatment)ในการศึกษา และไม่มีการควบคุมปัจจัย (Manipulate)ที่เกี่ยวข้องใดๆ ข้อค้นพบที่ได้จึงมีความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อน้อยกว่าการวิจัยเชิงทดลอง
แต่การวิจัยเชิงสำรวจก็มีความสำคัญในฐานะเป็นการวิจัยนำ กล่าวคือ นักวิจัยนิยมใช้การวิจัย
เชิงสำรวจเป็นการวิจัยนำเพื่อหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆก่อนที่จะทำวิจัยเชิงสัมพันธ์หรือการวิจัยเชิงทดลองต่อไป

แบบแผนการการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจเป็นแผนแบบแผนการวิจัยที่นักวิทยาศาสตร์ออกแบบมาใช้ในการวิจัย
ภาคสนาม เพื่อให้นักวิจัยสามารถศึกษาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้นักวิจัยสามารถมองเห็นสภาพของตัวแปรต่างๆที่สนใจ การวิจัยเชิงสำรวจมีแบบการวิจัยและหลักการตั้งชื่อดังนี้

1.วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจต้องการบรรยายลักษณะหรือสภาพของตัวแปรที่สนใจ โดยไม่สนใจ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาตัวแปร X กับ Y หมายถึง ผู้วิจัยต้องการศึกษาลักษณะแบบแผนและชนิดประเภทของตัวแปร Y หรือต้องการจำแนกหรือจัดกลุ่มตัวแปร Y ด้วยลักษณะต่างๆ ของตัวแปร X แต่ไม่ได้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปร X บนตัวแปร Y เหมือนเช่นในการวิจัยเชิงความสัมพันธ์หรือการวิจัยเชิงทดลองแต่อย่างใด
นักวิจัยเรียก X ว่าเป็นตัวแปรอิสระ (Free variable) และ Y เป็นตัวแปรเกณฑ์(Criterion variable) ตัวแปรนักวิจัยไม่สนใจความเชื่อมโยงของ X กับ Y ทั้งในแง่ของความสัมพันธ์หรืออิทธิพล แต่ใช้ตัวแปร X จำแนกตัวแปร Y เพื่อให้เข้าใจสภาพของตัวแปร Y ได้ชัดเจนมากขึ้น
ตัวอย่างในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ถ้านักวิจัยสนใจศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน คือ นอกจากต้องการศึกษาว่าประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากน้อยในระดับใดแล้วผู้วิจัยอาจสนใจจะศึกษาว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกันจะมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันหรือไม่ กรณีเช่นนี้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและจำแนกการมีส่วนร่วมทางการเมืองออกตามระดับการศึกษาก็ได้ โดยไม่สนใจว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือมีอิทธิพลต่อระดับการศึกษาหรือไม่ หรือระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือไม่
2.หลักการตั้งชื่อการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจมีวิธีตั้งชื่อได้หลายแบบ แต่โดยทั่วไปมักจะมีโครงสร้างการตั้งชื่อ ดังนี้

การศึกษา....(ตัวแปรเกณฑ์)...และ...(ตัวแปรอิสระ)…… .

หรือกรอบการเขียนชื่อเรื่องของการวิจัยเชิงสำรวจแบบที่สอง

การเปรียบเทียบ..(ตัวแปรเกณฑ์) ระหว่าง..(ค่าตัวแปรอิสระ)..

หรือรูปแบบอื่นในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน

ตัวอย่างชื่อการวิจัยเชิงสำรวจ
1.การหาปริมาณและคุณค่าของโปรตีนในข้าวเจ้าและข้าวเหนียวพันธุ์ต่างๆ (นิตยา สุขาถวาย)
2.การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์เบื้องต้น(ประเวศ ก่อเกียรติ ศิริกุล)
3.การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของของการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ดวงเดือน เทศวานิช, 2538)
4.การเปรียบเทียบค่านิยมทางสังคมของนักศึกษาไทยพุทธและไทยมุสลิมในวิทยาลัยครู (สุรพล โพพิศ)
5.การเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาชีพครูและคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาก่อนและหลัง
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ทัศนีย์ ศุภเมธี)
6.เปรียบเทียบปริมาณแคดเมียมในกุ้งแห้งที่ใส่สีและไม่ใส่สี (บุปผา แช่มประเสริฐ 2531)
7.ความหลากหลายของพืชสกุล Ficus ในหนองหาร จังหวัดสกลนคร(วิศัย พรหมเทพ และ
คณะ)
8.คุณลักษณะและทักษะของบุคลากรทางการศึกษาที่เอื้อต่อการปฏิรูปการศึกษา (สุวิมล ว่อง
วาณิช)
9.รูปแบบผู้นำและสภาวการณ์ในการทำงานที่ส่งเสริมขวัญและผลผลิตของกลุ่ม (โกศล มีคุณ)
10.นวนิยายที่เหมาะกับการใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบการเรียนชั้นประถมศึกษา (จรี เปลี่ยนสมัย) (ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ 2548)

พัฒนาการของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจพัฒนามาจากการสำรวจสำมะโนประชากรในสมัยโบราณ ในศตวรรษที่ 19
คาร์ลมาร์ก (Karl Marx) ได้พยายามสำรวจสภาพการถูกกดขี่แรงงานในเยอรมันในปี ค..1817 มาร์ค แอนโทนี จูเลียน เดอ ปารีส ( Marc Antoine Jullien de Paris) ได้สำรวจระบบการจัดการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี ค..1890 จี สแตนเลย์ (G.Stanley) ได้สำรวจลักษณะของเด็ก (Creswell 2002) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง การวิจัยเชิงสำรวจได้รับการพัฒนาในเรื่องเทคนิคการสำรวจและการสุ่มตัวอย่าง และยังได้ริเริ่มทำการสำรวจความคิดเห็น การเสนอมาตรการวัดทัศนคติแบบใหม่ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง นักวิจัยได้นำวิจัยเชิงสำรวจไปใช้ในการสำรวจจริยธรรมของทหารการผลิตอาวุธและการโจมตี เริ่มให้มีการสำรวจประชามติเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

ลักษณะสำคัญและวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆเพื่อนำไปใช้อธิบาย
ความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2550)

1.ลักษณะของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจ () เป็นการวิจัยสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีการจัดกระทำหรือควบคุม ตัวแปร () เป็นการศึกษาตัวแปรเพื่อพรรณนาสภาพของปรากฏการณ์นั้น ตัวแปรที่ศึกษาเป็นตัวแปรที่เกิดอยู่ก่อนแล้วตามธรรมชาติ ไม่สามารถจัดกระทำได้ เช่น เพศอายุ เชื้อชาติ ศาสนา ความคิด ความเชื่อ พฤติกรรมหรือตัวแปรโดยธรรมชาติแล้ว หรือจัดกระทำได้แต่ไม่นิยมจัดกระทำเพราะผิดจริยธรรมการวิจัย เช่น การแตกแยกของครอบครัว การให้เสพยาเสพติด การฆ่าตัวตายเป็นต้น และในการวิจัยอาจตั้งสมมุติฐานหรือไม่ก็ได้

2.วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์จะแสวงหา () ความรู้เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของ
ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่นักวิจัยสนใจมาเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างละเอียด () กำหนดสถานภาพที่ปรากฏในปัจจุบันเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานไว้สำหรับเปรียบเทียบกับสถานการณ์อื่น เพื่อประเมินสภาพการณ์โดยเทียบกับมาตรฐานที่มีอยู่ก่อนแล้ว และเพื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ตามเงื่อนไขเพื่อจำแนกออกเป็นกลุ่ม ประเภท ชนิด ตัวอย่างเช่น นักวิจัยเชิงสำรวจรวบรวมข้อเท็จจริงและนำมาหาข้อสรุปทำให้มีความรู้ว่า น้ำแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ ระบอบการปกครองแบ่งออกเป็น 3 แบบ นักวิจัยยังรวบรวมข้อมูลต่อไปและตั้งเป็นมาตรฐานความรู้ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยมีความรู้ว่า น้ำจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นไอน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเชลเซียส และจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 0 องศาเชลเซียส นักวิจัยยังพบอีกว่า เมื่อเพิ่มความสูงขึ้นไปน้ำจะเดือนก่อนที่อุณหภูมิ 0 องศาเชลเซียส ในทำนองเดียวกันมนุษย์ใช้การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงในปรากฏการณ์ต่างๆ จนสามารถเข้าใจธรรมชาติได้มากขึ้น

องค์ประกอบของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจมุ่งศึกษาถึงลักษณะของตัวแปรอันเป็นปัจจัยที่สำคัญในการทำเข้าใจเบื้องต้น
เกี่ยวกับปรากฏการณ์ การวิจัยเชิงสำรวจมีคุณลักษณะเฉพาะ (ปาริชาติ สถาปิตานนท์, 2547) ดังนี้

1.ประเด็นการวิจัย
การวิจัยเชิงสำรวจกำหนดประเด็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบรรยายสภาพหรือคุณลักษณะ
ของตัวแปรที่สนใจ ตัวแปรที่สำรวจได้แก่ ทัศนะ มุมมอง ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อ พฤติกรรมในเรื่องการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การวิจัยเชิงสำรวจสนใจปัญหาที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ก่อน มิได้จัดการทดลองขึ้นมาใหม่ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยสนใจจะศึกษาเรื่องการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในชนบท โดยการสำรวจพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสาร และผลการรับรู้ข่าวสาร เพื่อนำมาบรรยายว่า ประชาชนมีการรับรู้ข่าวสารในระดับมากปานกลางหรือน้อยเพียงใด และประชาชนมีพฤติกรรมการรับรู้ด้วยสื่อชนิดใด ความถี่เท่าไร รับรู้จากแหล่งใด เป็นต้น

2.ตัวแทน
การวิจัยเชิงสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแทน (Sample) และนำมาวิเคราะห์และอ้างอิงผล
ไปสู่ประชากร การสำรวจจะไม่นิยมใช้ประชากรทั้งหมดเพราะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ เวลาและแรงงานจึงหันมาศึกษาจากกลุ่มตัวแทน (Sample)แทน ในการสรุปผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ นักวิจัยต้องมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรและสามารถอ้างอิงผลไปอธิบายประชากรได้อย่างถูกต้อง การวิจัยเชิงสำรวจต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยต้องการทราบค่านิยมในการใช้สินค้าไทยของวัยรุ่นในปัจจุบัน โดยการทำแบบสอบถามไปวัดพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของวัยรุ่น นักวิจัยได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างขึ้นมา จำนวน 377 คนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปผล ถ้าข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างเป็นเช่นใดก็จะสรุปผลนั้นไปสู่ประชากรทั้งหมด

3.การรายงานตนเอง
การวิจัยเชิงสำรวจใช้การเก็บรวบรวมรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการสอบถามหรือ
สัมภาษณ์ที่ผู้ตอบต้องรายงานสิ่งที่เป็นทัศนะ มุมมอง ค่านิยม ทัศนคติ ความเชื่อพฤติกรรมนั้นด้วยตัวของเขาเอง(Self-report) ผู้วิจัยเป็นเพียงผู้ประมวลผลและหาข้อสรุป ไม่ได้เป็นผู้ตีความหรือให้ความหมายแก่ข้อมูลเหล่านั้นแต่อย่างใด การวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ เพื่อให้การสรุปมีความน่าเชื่อถือและต้องใช้เครื่องมือวัดประเภทแบบสอบถามหรือแบบสำรวจซึ่งเป็นการให้กลุ่มตัวอย่างรายงานสภาพของตนเอง ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยต้องการศึกษาปัญหาทางการสอนของครู ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามขึ้นมาสอบถามความคิดเห็นจากตัวครูเองว่ามีปัญหาอะไรบ้าง เป็นการให้ครูรายงานปัญหาของตนเอง มิใช่ให้ผู้วิจัยลงไปสังเกตและตีความหมายว่าเป็นอย่างไร

4.ข้อสรุปทั่วไป
การวิจัยเชิงสำรวจศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและต้องการสร้างข้อสรุปให้กว้างขวางไปถึง
ประชากรทั้งหมด (Generaliability) การวิจัยเชิงสำรวจจึงต้องมีการประมาณการค่าของประชากรจากกลุ่มตัวอย่าง ข้อสรุปของประชากรจะเป็นความที่บรรยายได้กว้างขวางมากขึ้น การวิจัยเชิงสำรวจจึงต้องใช้สถิติในการอ้างผลไปสู่ประชากร ตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยต้องการทราบความต้องการในการศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดชลบุรีจำนวน 5000 คน ในการวิจัยผู้วิจัยสุ่มนักเรียนมา 500 คน เพื่อเก็บข้อมูลและหาข้อสรุป พบว่านักเรียนมีความต้องการเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐมากที่สุด คณะที่ต้องการเข้าศึกษามากที่สุด ได้แก่ คณะ แพทยศาสตร์ ในการสรุปผล ผู้วิจัยต้องทดสอบทางสถิติเพื่อให้สามารถสรุปได้หรือไม่ประชากรนักเรียนทั้งหมดจำนวน 5000 คนมีความต้องการเป็นอย่างไร

รูปแบบของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจกำหนดรูปแบบการศึกษาลักษณะของตัวแปรตามรูปแบบ 3 ลักษณะคือ การบรรยายตัวแปรที่สนใจ การบรรยายสาเหตุของตัวแปรที่สนใจ และการบรรยายผลของตัวแปรที่สนใจ แต่ละลักษณะมีรายละเอียดการศึกษาดังนี้

1.การบรรยายตัวปรากฏการณ์
การบรรยายปรากฏการณ์เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ต้องการบรรยายสภาพของตัวแปร Y ที่สนใจในลักษณะต่างๆ โดยไม่สนใจตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องคือตัวแปรสาเหตุ X หรือตัวแปรผล Z
ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยเรื่องสภาพการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ในเขต
กรุงเทพมหานครผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า นักเรียนมีความสามารถทางการใช้ภาษาไทยในระดับใด เมื่อจำแนกตามทักษะฟังพูดอ่านเขียนทักษะ นักเรียนมีความสามารถในระดับใด เมื่อจำแนกตามสังกัดโรงเรียนนักเรียนมีความสามารถในระดับใด เมื่อจำแนกตามอาชีพผู้ปกครอง นักเรียนมีความสามารถในระดับใด เป็นต้น
ตัวอย่างงานวิจัยเชิงสำรวจประเภทนี้ ได้แก่ การศึกษาความต้องการในการเลือกอาชีพของ
นักเรียน ปัญหาการประกอบอาชีพของเกษตรกร รายได้ของกรรมกรรับจ้างในเขต กทม. เป็นต้น

2.การบรรยายสาเหตุของปรากฏการณ์
การบรรยายสาเหตุของปรากฏการณ์เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ต้องการบรรยายสภาพของตัวแปร
สาเหตุ X ซึ่งเป็นสาเหตุของตัวแปรที่สนใจ Y
ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดขัดของการจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า การจราจรติดขัดเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง โดยไม่สนใจว่า จราจรติดขัดแบบใด ที่ไหน อย่างไร ประเด็นที่สนใจในการวิจัยอาจเป็นเพราะปริมาณรถ การจัดเส้นทางเดินรถ สภาพที่ตั้งของที่พักอาศัย การเส้นทางบริการขนส่งมวลชน เป็นต้น
ตัวอย่างงานวิจัยเชิงสำรวจประเภทนี้ ได้แก่ สาเหตุที่ทำให้เยาวชนเสพยาเสพติด เหตุผลในการ เลือกโรงเรียนอนุบาลของผู้ปกครอง เป็นต้น

3.การบรรยายผลของปรากฏการณ์
การบรรยายผลของปรากฏการณ์เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ต้องการบรรยายสภาพของตัวแปร Z
ซึ่งเป็นผลของตัวแปรที่สนใจ Y
ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยเรื่อง ผลของการจัดเงินกู้เพื่อการศึกษา ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า การจัดเงินกู้เพื่อการศึกษาทำให้เกิดผลอะไรบ้าง โดยไม่สนใจวิธีการจัดเงินกู้หรือสาเหตุที่ต้องจัด ประเด็นที่สนใจในการวิจัยอาจเป็นประเด็นเกี่ยวกับการลดภาระผู้ปกครองมากน้อยเพียงใด การเปิดโอกาสในเด็กยากจนได้เข้าเรียนมากขึ้นเท่าไร การจัดการศึกษาทำได้ทั่วถึงมากขึ้นมากน้อยเท่าไร เป็นต้น
ตัวอย่างงานวิจัยเชิงสำรวจประเภทนี้ ได้แก่ ผลของการจัดโครงการอาหารกลางวัน ผลกระทบ
ของการคุมกำเนิดในประเทศไทย เป็นต้น

การสำรวจในการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจเป็นการวิจัยศึกษาจากประชากรที่มีขนาดใหญ่ ในการสำรวจมีลักษณะเฉพาะ ดังนี้

1.ลักษณะของการสำรวจ
ในการวิจัยเชิงสำรวจ นักวิจัยสามารถออกแบบการสำรวจได้ 2 ลักษณะคือการสำรวจจาก
ประชากรและการสำรวจจากตัวอย่าง แต่ละลักษณะมีวิธีการและข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้
1.1            การสำรวจจากประชากร
การสำรวจประชากรเป็นการสำรวจเกี่ยวกับคุณลักษณะจาก
สมาชิกทุกหน่วยของประชากร ไม่มีการสุ่มตัวอย่างและไม่ต้องมีการทดสอบและอ้างอิงผล ข้อดีคือให้
ผลสรุปที่ถูกต้อง แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองแรงงานและเสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น การทำสำมะโนประชากร การทำสำมะโนการเกษตร เป็นต้น การสำรวจจากประชากรใช้ในการวิจัยที่ประชากรมีสมาชิกจำนวนไม่มากนักหรือการวิจัยที่ต้องการข้อสรุปที่มีความมั่นใจสูง ตัวอย่างเช่น ในการวิจัย ครูผู้สอนภาษาจีนต้องการสำรวจความต้องการของนักเรียนที่เลือกเรียนภาษาจีนเป็นวิชาเลือกซึ่งมีนักเรียนเลือกเรียนทั้งหมดเพียง 23 คน การวิจัยครั้งนี้สามารถศึกษาจากประชากรโดยตรงได้
1.2           การสำรวจจากตัวอย่าง
การสำรวจตัวอย่างเป็นการสำรวจเกี่ยวกับความรู้ ความคิดเห็น เจตคติ ความเชื่อ
ค่านิยมและแบบประพฤติปฏิบัติจากสมาชิกที่เป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้เลือกมาจากประชากร การสำรวจต้องมีการสุ่มตัวอย่าง ต้องมีการทดสอบและอ้างอิงผล ข้อดีคือไม่สิ้นเปลืองแรงงานและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่มีข้อเสีย คือให้ผลสรุปที่ถูกต้องน้อยลง เช่น การสำรวจประชามติ การสำรวจ
ความนิยม เป็นต้น การสำรวจจากตัวอย่างใช้ในการวิจัยที่ประชากรมีสมาชิกจำนวนมากนักหรือการวิจัยที่ไม่ต้องการข้อสรุปที่ต้องการความมั่นใจสูง ตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองต้องการทราบความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคในปัจจุบัน จึงสุ่มประชากรมาสอบถาม 1300 คน และนำข้อสรุปนั้นมาใช้บอกความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองได้

2.วิธีการสำรวจในการวิจัย
ในการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยต้องใช้เครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวน
มาก ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการส่งเครื่องมือออกไปเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแล้วนักวิจัยสามารถสำรวจได้หลายวิธี (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2550) ดังนี้
2.1 การสำรวจด้วยแบบสอบถาม ทำได้โดยการนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยตนเอง วิธีนี้เป็นวิธีการที่สิ้นเปลือง แต่ได้รับผลตอบกลับมาจำนวนมาก
2.2 การสำรวจทางไปรษณีย์ ทำได้โดยส่งแบบสอบถามไปและกลับทางไปรษณีย์ วิธีนี้
เป็นวิธีการที่ประหยัด แต่ได้รับผลตอบกลับมาจำนวนน้อย
2.3 การสำรวจด้วยการสัมภาษณ์ ทำได้โดยผู้วิจัยออกไปสัมภาษณ์ด้วยตนเองหรือจัด
นักวิจัยผู้ช่วยไปสัมภาษณ์ก็ได้ วิธีนี้เป็นวิธีการที่สิ้นเปลือง แต่ได้รับผลตอบกลับมาจำนวนมาก
2.4. การสำรวจทางโทรศัพท์ ทำได้โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างทางโทรศัพท์ วิธีนี้เป็น
วิธีการที่สิ้นเปลือง แต่ได้รับผลตอบกลับมาจำนวนมาก
2.5.การสำรวจผ่านเครือข่าย ทำได้โดยส่งแบบสอบถามไปและกลับทางอินเตอร์เนต เป็น
วิธีการที่ประหยัด แต่ได้รับผลตอบกลับมาจำนวนน้อย
นักวิจัยต้องเลือกวิธีการสำรวจให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่เช่นจำนวนแรงงาน จำนวน
งบประมาณและจำนวนเวลาที่ใช้ในการวิจัยแต่ละครั้ง

ขั้นตอนการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และ
ขั้นตอนที่สำคัญของการวิจัยเชิงสำรวจ คือ การเลือกแบบแผนการสำรวจ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี 8 ขั้นตอนเหมือนการวิจัยเชิงทดลอง คือประกอบด้วยการกำหนดประเด็นการวิจัย การสำรวจเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน การตั้งสมมุติฐานการวิจัย การเลือกแบบแผนการสำรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมุติฐานและการเสนอผลการวิจัย แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียด (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2550) ดังนี้

1.กำหนดประเด็นการวิจัย
กำหนดขอบข่ายและเนื้อหาเรื่องที่จะวิจัย ระบุปัญหาการวิจัยในเชิงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
และทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ระบุความหมาย โครงสร้างและขอบเขตของสิ่งที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน
2.สำรวจเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนทฤษฎี เอกสารและรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ทำความเข้าใจและ
อธิบายประเด็นปัญหา คำศัพท์ ตัวแปรการวิจัย แบบแผนการวิจัย จากตำราเอกสารหรืองานวิจัย
3.กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน
นำแนวคิดทางทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสร้างกรอบความคิดการวิจัยและกำหนด
วัตถุประสงค์การวิจัยหรือคำถามการวิจัยที่ต้องการตอบในการวิจัย นิยามคำศัพท์และระบุขอบเขตของการวิจัย
4.ตั้งสมมุติฐานการวิจัย
นำผลการทบทวนทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องใน
การศึกษาทั้งหมด ส่วนสมมุติฐานการวิจัยอาจมีหรือไม่ก็ได้
5.เลือกแบบแผนการสำรวจ
เลือกแบบแผนการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลและการ
วิเคราะห์และวางแผนทางด้านเวลา แรงงาน งบประมาณของการทดลอง
6.การเก็บรวบรวมข้อมูล
นำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ตามแผนการที่กำหนด
7.วิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมุติฐาน
นำข้อมูลจาการทดลองมาวิเคราะห์และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเพื่อการอ้างสรุปผล
8.เสนอผลการวิจัย
เขียนรายงานการวิจัยให้ประกอบด้วยปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยวิธีดำเนินการวิจัย
ผลการวิจัย สรุปผลอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
ประเภทของการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจมีมากมายหลายประเภท แต่ในที่นี้ขอยกมานำเสนอเป็นตัวอย่างเพียง 2
ประเภท คือ
1.การวิจัยเอกสาร
การวิจัยเอกสารเป็นการศึกษาสำรวจกับเอกสาร ที่เน้นการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งใน
อดีตหรือในปัจจุบัน ทางด้านสังคม การเมือง การปกครอง ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ประชากรการวิจัย คือ เอกสาร บันทึก คำบอกเล่าหรือหลักฐานอื่นที่ยังมีปรากฏอยู่ เพื่อสืบสาวไปถึงเรื่องนั้น
การวิจัยเอกสารมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงของเรื่องราวจากหลักฐานโดยการวิเคราะห์
เนื้อหาของเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยต้องการแนวคิดทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี จึงตั้งเป็นปัญหาการวิจัย หลังจากนั้นผู้วิจัยต้องรวบรวมเอกสารต่างๆทั้งข้อความ นิตยสาร หนังสือ บทความ จดหมาย คำบรรยาย บันทึก บทสัมภาษณ์และสุ่มตัวอย่างมาศึกษาและกำหนดหน่วยที่จะวิเคราะห์ เช่น คำ ประเด็นแนวคิดและสร้างเครื่องมือจำแนกประเภทเนื้อหาตามประเภท วันเวลา แนวคิดเป็นต้นและนำมาบรรยายความ สรุปความและตีความตามหลักทางทฤษฎีและเขียนรายงานการวิจัย
2.การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นการศึกษาสำรวจกับหน่วยตัวอย่างเพียงหน่วยเดียว ในทุกแง่ทุกมุม
พร้อมทั้งบริบทและสภาพแวดล้อม หน่วยตัวอย่างอาจเป็นบุคคล ครอบครัวหรือองค์กรก็ได้ ก า ร ศึกษาเฉพาะกรณีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรณีตัวอย่างนั้นในทุกแง่ทุกมุมเพื่อให้เห็นภาพรวมและนำมาอธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างลึกซึ้ง และผลที่ได้ไม่สามารถนำไปใช้อธิบายได้ทั่วไป
ตัวอย่างเช่น แพทย์ต้องการศึกษาลักษณะของโรคและการระบาดของโรคจึงเลือกผู้ป่วยคนหนึ่งมา
ศึกษา โดยการสืบค้นประวัติการเจ็บป่วยในอดีต พฤติกรรมในปัจจุบัน อาการเจ็บป่วยและวิธีการรักษานำมาวินิจฉัยและตั้งสมมุติฐานของการรักษา กำหนดการรักษาและเสนอแนวทางในการรักษาโรคนี้ต่อผู้ป่วยรายอื่นๆ ต่อไป

ตัวอย่างของการวิจัยเชิงสำรวจ
ขอเสนอสรุปตัวอย่างงานวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง การสำรวจเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ของโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศรียา นิยมธรรม ปีที่ทำการวิจัย พ..2545(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ 2547)
1.ชื่อเรื่อง
การสำรวจเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ของโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร
2.ชื่อผู้วิจัย
ศรียา นิยมธรรมและดารณี ศักดิ์ศิริผล
3.ปีที่ทำการวิจัย
..2545
4.วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อคัดแยกเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในช่วงอายุ 5-6.5 ปีของโรงเรียนในเขต กทม.
5.สมมุติฐานการวิจัย
ไม่มีระบุ
6.ตัวแปรการวิจัย
6.1 ตัวแปอิสระ ไม่ระบุ
6.2 ตัวแปรเกณฑ์ ไม่ระบุ
7.วิธีดำเนินการวิจัย
7.1 วิธีวิจัย การวิจัยเชิงสำรวจ
7.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของวัตถุประสงค์ข้อ1
.ประชากร ได้แก่ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในช่วงอายุ 5-6.5 ปีของโรงเรียน
ในเขตกรุงเทพมหานคร
.กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในช่วงอายุ 5-6.5 ปีของ
โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครที่เลือกมาจำนวน 10 %จากโรงเรียนสาธิต 1 แห่ง โรงเรียนสังกัด กทม.2
แห่ง โรงเรียนสังกัด สปช. 2 แห่ง และโรงเรียนสังกัด สช. 2 แห่ง จำนวน 942 คน
8.เครื่องมือการวิจัย
8.1 เครื่องมือคัดแยกเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
8.2 แบบบันทึกการคัดแยกที่มีปัญหาการเรียนรู้
8.3 คู่มือการใช้แบบคัดแยกเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
9. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ไม่ระบุ
10.การวิเคราะห์และสถิติ
ผู้วิจัยใช้ค่าสถิติร้อยละและเสนอในรูปตารางประกอบกราฟแท่ง
11.ผลการวิจัย
จากการวิจัยพบว่า เด็กมีภาวะเสี่ยงที่จะมีปัญหาการเรียนคิดเป็นร้อยละ 20 ในเรื่องซ้าย/ขวา
การจำคำ การใช้ขา การวาดรูปทรง

สรุป
การวิจัยเชิงสำรวจมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆเพื่อนำไปใช้อธิบาย
ความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ การวิจัยเชิงสำรวจเป็นการวิจัยสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีการจัดกระทำหรือควบคุมตัวแปร เป็นการศึกษาตัวแปรเพื่อพรรณนาสภาพของปรากฏการณ์นั้น ตัวแปรที่ศึกษาเป็นตัวแปรที่เกิดอยู่ก่อนแล้วตามธรรมชาติ ไม่สามารถจัดกระทำได้
การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์จะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของปรากฏการณ์
ต่างๆที่นักวิจัยสนใจมาเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างละเอียด กำหนดสถานภาพที่ปรากฏในปัจจุบันเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานไว้สำหรับเปรียบเทียบกับสถานการณ์อื่น เพื่อประเมินสภาพการณ์โดยเทียบกับมาตรฐานที่มีอยู่ก่อนแล้ว และเพื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ตามเงื่อนไขเพื่อจำแนกออกเป็นกลุ่ม ประเภท ชนิด การวิจัยเชิงสำรวจกำหนดรูปแบบการศึกษาลักษณะของตัวแปรตามรูปแบบ 3 ลักษณะคือ การบรรยายตัวแปรที่สนใจ การบรรยายสาเหตุของตัวแปรที่สนใจ และการบรรยายผลของตัวแปรที่สนใจ ตามแบบแผนในการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้วิจัยต้องใช้เครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการส่งเครื่องมือออกไปเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม ในการสำรวจ นักวิจัยสามารถออกแบบการสำรวจได้ 2 ลักษณะคือการสำรวจจากประชากรและการสำรวจจากตัวอย่าง
การวิจัยเชิงสำรวจมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์และขั้นตอนที่สำคัญของการวิจัยเชิงสำรวจมี 8 ขั้นตอน ประกอบด้วยการกำหนดประเด็นการวิจัย การสำรวจเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน การตั้งสมมุติฐานการวิจัย การเลือกแบบแผนการสำรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมุติฐานและการเสนอผลการวิจัย การวิจัยเชิงสำรวจมีมากมายหลายประเภท เช่น การวิจัยเอกสาร การศึกษาเฉพาะกรณี