หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้

      หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นับเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานและตัวชี้วัดกำกับในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนั้นการจัดทำเอกสารต่าง ๆ ของสถานศึกษาจึงต้องยึดมาตรฐานตามหลักสูตรเป็นสำคัญ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ในปัจจุบันจึงเรียกได้ว่าเป็น หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2551, 7) กล่าวว่า หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หมายถึง หน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของหน่วย และองค์ประกอบภายในหน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ ชิ้นงานหรือภาระงานที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอน และเกณฑ์การประเมินผล ทุกองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ จะต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของหน่วย ซึ่งการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพราะเป็นส่วนที่นำมาตรฐานการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง 

1) ขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียนรู้

    1.1) ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ได้แก่ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ การจัดเวลาเรียน โครงสร้างเวลาเรียน การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อใช้สร้างหน่วยการเรียนรู้ตามโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา

    1.2) จัดทำโครงสร้างรายวิชาโดยกำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคเรียน/ปีการศึกษา โดยใช้ข้อมูลเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้จากคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรสถานศึกษา ทั้งนี้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ไม่ควรระบุมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดมากจนเกินไป แต่นับรวมให้ครบทุกมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่ระบุในคำอธิบายรายวิชาในระดับชั้นนั้น มาวิเคราะห์ ดังตารางที่ 6.1

ตารางที่ 6.1 แสดงการกำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้และจัดทำโครงสร้างรายวิชาจากหลักสูตรสถานศึกษา

หน่วยที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

เวลา (ชม.)

คะแนน

 

 

(รหัส)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รวม

 

 



            1.3) กำหนดชิ้นงาน/ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากสาระการเรียนรู้แกนกลางเพื่อกำหนดชิ้นงาน/ภาระงานให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ควรกำหนดชิ้นงาน/ภาระงานให้แตกต่าง หลากหลาย และกระจายภาระงานไม่ให้หนักมากจนเกินไป โดยคำนึงถึงระยะเวลา อัตราส่วนคะแนนเป็นองค์ประกอบ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2551, 15)  ได้ยกตัวอย่างชิ้นงาน/ภาระงาน ไว้ดังนี้
                    ชิ้นงาน ได้แก่ 
                    (1) งานเขียน เช่น เรียงความ จดหมาย โคลงกลอน การบรรยาย การเขียนตอบ 
                    (2) ภาพ / แผนภูมิ เช่น แผนผัง แผนภูมิ ภาพวาด กราฟ ตาราง ฯลฯ 
                    (3) สิ่งประดิษฐ์ เช่น งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการ หุ่นจาลอง ฯลฯ 

                    ภาระงาน ได้แก่ 
                    การพูด / รายงานปากเปล่า เช่น การอ่าน กล่าวรายงาน โต้วาที ร้องเพลง 
สัมภาษณ์ บทบาทสมมติ เล่นดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ 

                งานที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างชิ้นงาน / ภาระงาน ได้แก่ 
                การทดลอง การสาธิต ละคร วีดิทัศน์ ฯลฯ  

โดยสามารถวิเคราะห์ได้ ดังตารางที่ 6.2

ตารางที่ 6.2 แสดงการวิเคราะห์การกำหนดชิ้นงาน/ภาระงานในแต่ละหน่วยการเรียนรู้


หน่วยที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

เวลา (ชม.)

คะแนน

ชิ้นงาน/ภาระงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



            1.4) กำหนดจุดประสงค์รายหน่วยการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการวัดและประเมินผลในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งควรออกแบบให้ครบ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ (Knowledge : K) ด้านทักษะกระบวนการ (Process : P) และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude : A) ดังตารางที่ 6.3

ตารางที่ 6.3 แสดงการกำหนดกำหนดจุดประสงค์รายหน่วยการเรียนรู้


หน่วยที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

จุดประสงค์การเรียนรู้

 

 

 

ความรู้ (K)

ทักษะกระบวนการ (P)

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


            1.5) กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้ โดยออกแบบให้สอดคล้องกับชิ้นงาน/ภาระงานที่กำหนดในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วย โดยพิจารณาจากชิ้นงาน/ภาระงานที่ต้องการได้รับเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนและเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ ดังตารางที่ 6.4

ตารางที่ 6.4 แสดงการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้

หน่วยที่

ชื่อหน่วยการเรียนรู้

ชิ้นงาน/ภาระงาน

กิจกรรมการเรียนรู้

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้

 

 

 

(กิจกรรมหลักๆ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



1.6) นำข้อมูลจาก 1.1 – 1.5 มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อจัดทำหน่วยการเรียนรู้ 

2) ตัวอย่างการออกแบบหน่วยการเรียนรู้

 

หน่วยการเรียนรู้ที่..............เรื่อง..................................................

 

รายวิชา..........................รหัสวิชา...............................กลุ่มสาระการเรียนรู้.............................................

ชั้น..................................ภาคเรียนที่........./...................                                 เวลา.....................ชั่วโมง

ผู้สอน……………………………...…………………………………………. โรงเรียน…………………………………..………...........

 

1.      สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

สาระที่ ...................................................................................................................................

มาตรฐาน................................................................................................................................

          ตัวชี้วัด....................................................................................................................................

 

สาระที่ ...................................................................................................................................

มาตรฐาน................................................................................................................................

          ตัวชี้วัด....................................................................................................................................

           

2.      สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

..................................................................................................................................................

..................................................................................................................................................

 

3.      สาระการเรียนรู้

3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง

       3.1.1...............................................................................................................................

       3.1.2...............................................................................................................................

3.2  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น(ถ้ามี)

       3.2.1...............................................................................................................................

       3.2.2...............................................................................................................................

 

     4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

            4.1.........................................................................................................................................

            4.2.........................................................................................................................................

     5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

           5.1..........................................................................................................................................

           5.2..........................................................................................................................................

 

6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน

           6.1..........................................................................................................................................

           6.2..........................................................................................................................................

         

      7.  สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

           ...................................................................................................................................................

 

      8. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 ...................................................................................................................................................

 

      9.  กิจกรรมการเรียนรู้            

...................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................

 

      10.  การวัดและประเมินผล          

ตัวชี้วัด

ภาระงาน/ชิ้นงาน

วิธีการ/เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

 

 

 

 

 

 

             

       11.  เกณฑ์การประเมิน

ประเด็น

การประเมิน

ระดับคุณภาพ/คะแนน

4

3

2

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปผลการประเมิน

            คะแนน.......................หมายถึง.................         คะแนน.......................หมายถึง.................

            คะแนน.......................หมายถึง.................         คะแนน.......................หมายถึง.................

เกณฑ์การผ่าน..............................................................................................................................


จากขั้นตอนข้างต้นจะเห็นว่า การจัดทำหน่วยการเรียนรู้มีกระบวนการและขั้นตอนที่ละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับครูผู้สอนเป็นอย่างมากในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไป


อ้างอิง : สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น