หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

พัฒนาการของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3

     1) ลักษณะทางร่างกาย (Physical Characteristics) 

        1.1) นักเรียนหญิงเข้าสู่วัยรุ่นรวดเร็วกว่านักเรียนชาย 

        1.2) เริ่มสนใจเรื่องเพศ นักเรียนหญิงเริ่มมีประจำเดือน

        1.3) ใส่ใจรูปร่าง ทรงผม การแต่งกาย 

        1.4) พยามยามรักษารูปร่าง ทรวดทรง

     คำแนะนำสำหรับครู ให้คำแนะนำเรื่องเพศและสรีระด้วยความเข้าใจ สอนเรื่องเพศศึกษา สอนเรื่องความเหมาะสมเกี่ยวกับการแต่งกายและไม่ควรอดอาหารเพื่อรักษารูปร่าง 

    2) ลักษณะทางสังคม (Social Characteristics)

        2.1) มักมีความคิดขัดแย้งกับผู้ใหญ่ เชื่อกลุ่มเพื่อน 

        2.2) ขาดความมั่นใจ ชอบเลียนแบบ

        2.3) เริ่มมีความรัก คบกันอย่างเปิดเผย 

    คำแนะนำสำหรับครู มีข้อตกลงที่ชัดเจน ยุติธรรม ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลง ส่งเสริมความมั่นใจและความเป็นตัวของตัวเอง ดูแลการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบไปในทางที่ไม่ดี ให้คำแนะนำในการวางตัวในการมีคนรัก 

    3) ลักษณะทางสติปัญญา (Cognitive Characteristics) 

                 3.1) เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง 

         3.2) มีจินตนาการสูง ชอบเพ้อฝัน

    คำแนะนำสำหรับครู จัดกิจกรรมที่ท้าทาย และส่งเสริมการใช้ความคิดจินตนาการ

              4) ลักษณะทางอารมณ์ (Emotional Characteristics)

                  4.1) เจ้าอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน

          4.2) ชอบส่งเสียงดังปกปิดความไม่มั่นใจของตนเอง

          4.3) มักแสดงอารมณ์โกรธออกมาโดยไม่ยั้งคิด

          4.4) ยึดความคิดของตนเองเป็นใหญ่

          4.5) จับผิดและมองเห็นข้อผิดพลาดของผู้ใหญ่

     คำแนะนำสำหรับครู สอนให้ควบคุมสติ ควบคุมอารมณ์ หรือระบายออกในทางที่เหมาะสม สอนให้ยอมรับในความคิดของคนอื่น ยอมรับผิดหากครูมีข้อผิดพลาด


ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6

     1) ลักษณะทางร่างกาย (Physical Characteristics) 

        1.1) เจริญเติบโตเต็มที่ ผิวพรรณผ่องใส รูปร่างหน้าตาเข้ารูปเข้ารอย

        1.2) สนใจรูปร่าง ทรงผม การแต่งกาย

        1.3) สมบูรณ์ แข็งแรง 

     คำแนะนำสำหรับครู สอนให้รู้จักบทบาทหน้าที่ของเพศหญิงและชาย ส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะกับบุคลิกภาพและความสามารถ

    2) ลักษณะทางสังคม (Social Characteristics)

        2.1) มักมีความคิดขัดแย้งกับผู้ใหญ่ เชื่อกลุ่มเพื่อน 

        2.2) มีความรัก สนใจการแต่งงาน

        2.3) นักเรียนหญิงจะมีเพื่อนสนิทไม่มาก แต่นักเรียนชายจะมีเพื่อนสนิทจำนวนมาก 

    คำแนะนำสำหรับครู แนะนำการใช้ชีวิตที่ถูกต้องและเหมาะสม

    3) ลักษณะทางสติปัญญา (Cognitive Characteristics) 

                 3.1) พัฒนาการทางสมองสมบูรณ์ ขาดเพียงประสบการณ์ 

         3.2) สนใจปรัชญาเกี่ยวกับชีวิต สภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม

    คำแนะนำสำหรับครู จัดกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์ เน้นการปฏิบัติงานจริง การอภิปราย การทดลอง แนะนำหลักการใช้ชีวิต

              4) ลักษณะทางอารมณ์ (Emotional Characteristics)

                  4.1) ก้าวร้าว

          4.2) สัมพันธภาพระหว่างผู้ใหญ่ดีขึ้น

          4.3) เพ้อฝัน โดยไม่คำนึงถึงความสามารถและหน้าที่ของตน

     คำแนะนำสำหรับครู แนะนำพฤติกรรมและการใช้คำพูดที่เหมาะสม แนะแนวการเรียนต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต ยกตัวอย่างและสอนให้รู้จักรักและเข้าใจผู้ปกครอง ยอมรับในสิ่งที่ตนมี


พัฒนาการของนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สังคม สติปัญญา อารมณ์ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์และทุกรายวิชาควรมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เข้าใจนักเรียนได้มากยิ่งขึ้น สามารถจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสนใจและพัฒนาการของช่วงวัยนั้น ๆ ได้ ความเข้าใจเรื่องนามธรรมซึ่งเป็นธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นตามวัย ครูคณิตศาสตร์จึงควรใช้สื่อและการอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและเพิ่มความเป็นนามธรรมมากขึ้น เพิ่มกิจกรรมที่ท้าทายและใช้เวลานานมากขึ้นในระดับชั้นมัธยมศึกษา


อ้างอิง : สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น