หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566

กิจกรรมการเรียนการสอนสาระ "เรขาคณิต"

กิจกรรม “หมวกแปลงร่าง”

อุปกรณ์ 1. กระดาษชาร์ตสีต่าง ๆ 

        2. กระดาษแข็ง

                3. กาว

        4. กรรไกร

        5. ไม้บรรทัด ดินสอ ยางลบ

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. ครูเล่าสถานการณ์เรื่องเมืองเรขาคณิต “ในเมืองเต็มไปด้วยสัตว์น้อย นางฟ้า เทวดา ฮีโร่ และมอนสเตอร์ นานาชนิด แต่รูปร่างของทุกคนจะเป็นรูปเรขาคณิต วันนี้ครูจะพาทุกคนไปเที่ยว แต่ทุกคนต้องแปลงร่างให้เหมือนคนในเมืองก่อนด้วยหมวกแปลงร่าง ครูจะให้ทุกคนประดิษฐ์หมวกของตนเองจากรูปเรขาคณิต”

2. แต่ละคนมารับอุปกรณ์ (หากเป็นเด็กเล็กครูควรตัดรูปร่างเรขาคณิตรูปต่าง ๆเตรียมไว้ก่อน)

3. ครูแจ้งกำหนดเวลาในการทำงาน 20 นาที 

4. นักเรียนประดิษฐ์หมวกของตนเอง

5. เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนแต่ละคนนำเสนอหมวกของตนเอง แล้วจับกลุ่ม 5-8 คน แต่งนิทานเรื่องเมืองเรขาคณิต และแสดงบทบาทสมมุติหน้าชั้นเรียน

--------------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม “ออริกามิแสนสวย”

อุปกรณ์ 1. กระดาษชาร์ตสีต่าง ๆ 

        2. กรรไกร

        3. ไม้บรรทัด ดินสอ ยางลบ

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. ครูนำตัวอย่างออริกามิให้นักเรียนดู และเล่าความเป็นมาและความหมายของออริกามิ

2. แต่ละคนส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ (หากเป็นเด็กเล็กครูควรตัดรูปร่างเรขาคณิตรูปต่าง ๆเตรียมไว้ก่อน)

3. ครูนำนักเรียนพับกระดาษในรูปแบบของออริกามิ 

4. นักเรียนประดิษฐ์ออริกามิโดยมีครูและเพื่อนให้คำแนะนำ

5. นักเรียนนำออริกามิของทุกคนมารวมกันและระดมสมองร่วมกันว่าจะนำเสนอออริกามิของทุกคนอย่างไร หรือจะใช้ประโยชน์อย่างไร เช่น ประดิษฐ์โมบาย ต้นไม้ประดับ จัดบอร์ด เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม “สถาปนิกจิ๋ว วิศวกรน้อย”
อุปกรณ์ 1. กล่องกระดาษทรงสี่เหลี่ยมหุ้มด้วยกระดาษชาร์ตสีต่าง ๆ 
        2. กระดาษ A4
        3. ไม้บรรทัด ดินสอ ยางลบ
        4. กระดาษกาว

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
1. ครูกำหนดสถานการณ์ให้นักเรียนเป็นสถาปนิกจิ๋ว โดยการนำกล่องกระดาษที่หุ้มด้วยกระดาษชาร์ตสีต่าง ๆ มาเรียงต่อกันแล้วสร้างเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ เช่น ตึก ตัวอักษร ฯลฯ
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 5-7 คน แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์
3. นักเรียนประกอบกล่องกระดาษเป็นรูปที่คิดไว้ แล้ววาดรูปเรขาคณิต 2 มิติ ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน จากรูปเรขาคณิต 3 มิติที่สร้างขึ้น ครูถ่ายรูปเพื่อทำภาพเฉลย และเมื่อวาดเสร็จแล้วให้นำกล่องกระดาษคืนคุณครู
4. นักเรียนจับสลากเพื่อสุ่มเอาภาพวาดรูปเรขาคณิต 2 มิติ ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนที่เพื่อนวาดมาประกอบเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติจากกล่องกระดาษ
5. เจ้าของกลุ่มตรวจงาน และนักเรียนดูรูปเฉลยจากรูปถ่ายของครู

อ้างอิง : สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น