หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566

กิจกรรมการเรียนการสอน สาระการวัด

กิจกรรม “หอคอยแอปเปิ้ล”

อุปกรณ์ 1. แอปเปิ้ลขนาดเท่าๆ กัน กลุ่มละ 1 ลูก 

        2. มีด

                3. เขียง

        4. ไม้จิ้มฟัน

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 คน

2. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ (หากเป็นเด็กเล็กครูควรหั่นแอปเปิ้ลเตรียมไว้ก่อน)

3. ครูแจ้งกำหนดเวลาในการทำงาน 20 นาที 

4. นักเรียนช่วยกันออกแบบหอคอยจากการต่อชิ้นแอปเปิ้ล โดยใช้ไม้จิ้มฟันเป็นตัวเชื่อมแอเปิ้ลแต่ละชิ้น ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

5. เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการวัดหอคอยของกลุ่มตนเอง โดยมีเพื่อนๆ จากกลุ่มอื่น ๆ ช่วยสังเกตการณ์

6. กลุ่มที่สร้างหอคอยได้สูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะ 

------------------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม “เรือมหาสมบัติ”

อุปกรณ์ 1. กระดาษขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น 

        2. หลอดกาแฟจำนวน 3 หลอด

                3. เทปใส

        4. กรรไกร

        5. คลิปหรือเหรียญบาท

        6. กะละมัง

        7. น้ำเปล่า

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 คน

2. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ 

3. ครูแจ้งกำหนดเวลาในการทำงานรวมเวลาการออกแบบและสร้าง 20 นาที 

4. นักเรียนช่วยกันออกแบบและสร้างเรือจากอุปกรณ์ที่กำหนดให้ โดยห้ามใช้เทปใสพันหุ้มกระดาษ 

5. เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองโดยนำเรือกระดาษที่สร้างขึ้นลอยลงในกะละมังที่เตรียมไว้ แล้วทดลองหย่อนคลิปหรือเหรียญบาทลงในเรือ 

6. เรือลำใดจุจำนวนคลิปหรือเหรียญบาทได้มากที่สุดก่อนที่เรือจะจมน้ำ จะเป็นผู้ชนะ 

--------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม “เครื่องยิงเสบียงอาหาร”

อุปกรณ์ 1. ดินสอจำนวน 2 แท่ง 

        2. หนังยางจำนวน 10 เส้น

                3. ฝาขวดน้ำจำนวน 5 ฝา

        4. ไม้ไอติมจำนวน 3 ไม้

        5. ลูกอม

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 คน

2. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ 

3. ครูกำหนดสถานการณ์ว่า “กระทรวงนวัตกรรมต้องการแบบจำลองเครื่องยิงเสบียงอาหารเพื่อนำไปผลิตเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งเสบียงอาหารในระยะไกลสำหรับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมและหน้าที่ไม่สามารถเดินทางไปได้ จึงขอให้ทุกคนได้ช่วยกันสร้างแบบจำลองเครื่องยิงเสบียงอาหาร”

3. ครูแจ้งกำหนดเวลาในการทำงานรวมเวลาการออกแบบและสร้าง 30 นาที 

4. นักเรียนช่วยกันออกแบบและสร้างเครื่องยิงเสบียงอาหาร

5. เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองโดยนำเครื่องยิงที่สร้างขึ้นทดลองยิงลูกอม

6. อุปกรณ์ของกลุ่มใดยิงลูกอมได้ไกลที่สุดจะเป็นผู้ชนะ


อ้างอิง : สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น