หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2566

กิจกรรมการเรียนการสอน สาระจำนวนและการดำเนินการ

กิจกรรม “ปั้นโจทย์คณิตในชีวิตประจำวัน”

อุปกรณ์ 1. กระดาษแข็งสีขาว 

        2. แป้งโดว์สีต่าง ๆ

                3. ปากกาเมจิก

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 คน

2. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาจับสลากเครื่องหมายดำเนินการ เช่น กลุ่มที่ 1 ได้การบวก กลุ่มที่2 การลบ กลุ่มที่ 3 การบวก เป็นต้น

3. ครูแจ้งกำหนดเวลาในการทำงานรวมกับเวลาเตรียมตัวนำเสนอ 15 นาที 

4. นักเรียนมารับอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษแข็งสีขาว แป้งโดว์สีต่าง ๆ และปากกาเมจิก

5. นักเรียนคิดสถานการณ์ปัญหาตามเครื่องหมายการดำเนินการที่ได้รับ แล้วเขียนสถานการณ์นั้นลงบนกระดาษแข็งสีขาว

6. นักเรียนช่วยกันออกแบบปั้นแป้งโดว์แปะลงบนกระดาษแข็งสีขาวเพื่ออธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาของสถานการณ์ปัญหา แล้วเตรียมนำเสนอ

7. นักเรียนนำเสนอสถานการณ์ปัญหาหน้าชั้นเรียน

-----------------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม “ซุปเปอร์ฮีโร่”

อุปกรณ์ 1. กระดาษแข็งสีขาว 

        2. สีชอล์คหรือสีเมจิก

ขั้นตอนการทำกิจกรรม

1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 5-8 คน

2. นักเรียนรับอุปกรณ์จากครูกลุ่มละ 1 ชุด ได้แก่ กระดาษแข็งสีขาว และสี

3. ครูสั่งให้นักเรียนวาดรูปตามคำบอกของครู โดยใช้เวลาวาดไม่เกิน 10 วินาทีต่อ 1 คำสั่ง เช่น วาดหัวฮีโร่ 1 หัว วาดดวงตา 3 ดวง วาดแขน 4 แขน วาดขา 2 ขา

4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยคิดสร้างสรรค์คำสั่งเพิ่มเติม เช่น วาดอาวุธ วาดเขา วาดหัวใจ 

5. นักเรียนตั้งชื่อฮีโร่ของตนเอง พร้อมเตรียมนำเสนอคุณสมบัติต่าง ๆ ของฮีโร่

6. กลุ่มที่ถูกใจเพื่อน ๆ ในชั้นมากที่สุดจะได้ตำแหน่งซุปเปอร์ฮีโร่

------------------------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม “Magic Pixel”

อุปกรณ์ 1. กระดาษสีต่าง ๆ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 x 1 ตารางเซนติเมตร 
        2. กาว
        3. ปากกาเมจิก
        4. กระดาษสีพื้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 5-8 คน
2. นักเรียนรับอุปกรณ์จากครูกลุ่มละ 1 ชุด ได้แก่ กระดาษสีต่าง ๆ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 3 x 3 ตารางเซนติเมตร กาว ปากกาเมจิก และกระดาษสีพื้น 
3. ครูอธิบายความหมายของคำว่า Pixel และยกตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
4. นักเรียนออกแบบรูปจากความรู้เรื่อง Pixel โดยใช้กระดาษสีต่าง ๆ ที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 3 x 3 ตารางเซนติเมตร ติดกาวลงบนกระดาษสีพื้น
5. นักเรียนตั้งชื่อรูปของตนเอง และนำเสนอรูปหน้าชั้นเรียนโดยบอกที่มาหรือแรงบันดาลใจที่สร้างรูป สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม สิ่งที่ต้องปรับปรุงจากการทำกิจกรรม
6. ครูกำหนดโจทย์ให้นักเรียนช่วยกันหาคำตอบจากรูปที่สร้างขึ้น เช่น อัตราส่วนของ Pixel สีชมพู ต่อ Pixel สีเหลือง, สัดส่วนของ Pixel สีเขียวกับ Pixel สีดำ, Pixel สีม่วงคิดเป็นเศษส่วนเท่าไหร่ของทั้งหมด เป็นต้น

อ้างอิง : สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. มหาสารคาม; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น