หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Mind Map

           Mind Map หรือ Mind-Map

           แปลตรงตัวว่าแผนที่ความคิด เป็นทฤษฎีในการนำเอาสมองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ทฤษฎีนี้คิดขึ้นโดยโทนี บูซาน (Tony Buzan) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ในปัจจุบันทฤษฎีของโทนี บูซาน ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการนำมาช่วยในการเขียนแผนที่ความคิด การเขียนแผนที่ความคิดในอดีตจะเน้นเขียนลงบนกระดาษว่างๆ จากจุดศูนย์กลาง กระจายเป็นรูปดาวคล้ายๆ การแตกกิ่งก้านของต้นไม้ (การแตกของเส้นเซลสมอง) ปัจจุบันมีทางลัดในการสร้างแผนที่ความคิดโดยการใช้ทูลหรือซอฟต์แวร์ช่วย (มีให้เลือกใช้งานหลายตัวทั้ง Commercial และ Open Source) ข้อดีของการใช้ซอฟต์แวร์คือสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ มีตัวอย่างแผนที่ความคิดให้เลือกใช้งานมากมาย


Mind Map ช่วยทำให้สิ่งต่างๆ มองภาพได้ง่ายขึ้น อาทิ
• สร้างจากสิ่งที่เป็นนามธรรมสู่รูปธรรม
• ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์
• ใช้แก้ปัญหาปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
• ใช้ในการทำการตัดสินใจกรณีมีทางเลือกหลายๆ ทาง

การนำไปประยุกต์ใช้งาน
ผู้ใช้สามารถนำโปรแกรมไปสร้างสรรค์งานได้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น
ใช้สร้างแผนที่ความคิด (Mind Map)
ใช้วิเคราะห์กลยุทธ์บริษัท (Strategic thinking, SWOT Analysis)
ใช้สรุปรายงานการประชุม (Meeting minutes)
ใช้ระดมความคิดเห็น (Brain storming )
ใช้ประกอบการเรียนการสอน (Teaching)
ใช้วางแผนโครงการ (Project planning)
ใช้กำหนดกลยุทธิ์การตลาด (Marketing Plans)
ใช้นำเสนอผลงานแทนโปรแกรม PowerPoint (Presentation)
ใช้ในการอบรมและบรรยายที่ต่างๆ (Training)
ใช้วางแนวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development)
ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ความรู้ แนวคิด (capture tacit knowledge )
ใช้สรุปแนวคิดเชิงประดิษฐ์และการคิดวิกฤต(คิดก่อนล่วงหน้า) (creative and critical thinking)
ใช้สร้างผังงานต่างๆ เช่น ผังองค์กร ผังก้างปลา
ฯลฯ


การเขียนแผนที่ความคิดในอดีต (เขียนด้วยมือ)
    ในอดีตการเขียนแผนแผนที่ความคิด (Mind Map) จะเป็นการเขียนด้วยกระดาษเปล่าเพียง 1 แผ่น โดยกำหนดหัวเรื่องหลักของแนวคิด (Concept) ไว้ตรงจุดกึ่งกลาง หลังจากนั้นก็เขียนความคิด (Ideas) ออกเป็นกิ่งก้านคล้ายๆ กิ่งของต้นไม้ แต่ละกิ่งก้านก็แตกใบย่อยออกหลายๆ ใบ โดยใบไม้แต่ละใบเปรียบเสมือนหัวข้อหรือเนื้อหาที่ต้องการใช้ในการสอนในวัตถุประสงค์นั้นๆ

เครื่องมือในการเขียนแผนที่ความคิดด้วยมือ
ในการสร้างแผนที่ความคิดนั้นผู้ที่สอนเรื่องทฤษฎีนี้ (ในที่นี้อาจหมายถึงครู อาจารย์ วิทยากร หรือผู้มีความรู้) ควรมีการเตรียมสื่อในการสร้าง Mind Map ดังนี้
กระดาษเปล่าขนาด A4 หรือใหญ่กว่า 1 แผ่น
ดินสอหรือปากกาหลากหลายสี
ยางลบ
หัวเรื่องที่ต้องการสร้างแผนที่ความคิด โดยหัวเรื่องก็ขึ้นอยู่กับระดับของผู้เรียน และระดับการศึกษา

ขั้นตอนการเขียนแผนที่ความคิดด้วยมือ
1. เริ่มต้นด้วยเขียนหัวเรื่องหลักของแนวคิด (Concept) ที่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ใช้ดินสอหรือปากกาอย่างน้อย 3 สี
2. ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ ในการสื่อผ่านแผนที่ความคิดให้มากที่สุด เพราะรูปภาพจะทำให้จดจำได้ง่าย
3. ขีดเส้นออกจากจุดศูนย์กลาง ความคิดหลัก (Ideas) ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
4. วาดวงรีต่อจากเส้นความคิดหลักในข้อ 3
5. เขียนหัวข้อความคิดหลัก พร้อมวาดรูปที่เกี่ยวข้องประกอบ
6. ขีดเส้นย่อยออกจากความคิดหลัก เป็นกิ่งๆ คล้ายกิ่งต้นไม้
7. วาดวงรีต่อจากเส้นย่อยในข้อ 6
8. เขียนความคิดย่อย พร้อมวาดรูปที่เกี่ยวข้องประกอบ
9. ย้อนทำตามข้อ 3 – 8 จนเนื้อหาครบสมบูรณ์


การเขียนแผนที่ความคิดในปัจจุบัน (เขียนด้วยคอมพิวเตอร์)
    หลังจากพอมองเห็นภาพการเขียนแผนที่ความคิดที่นิยมในอดีตแล้ว (ในปัจจุบันผู้เขียนคิดว่ายังมีผู้อ่านอีกหลายท่านยังคงใช้วิธีการเขียนแบบเดิมๆ ด้วยมืออยู่แบบเดิมๆ อยู่ เนื่องมาจากความชอบส่วนตัว เพราะสามารถนั่งเขียนที่ไหนก็ได้) ในการเขียนแผนที่ความคิดด้วยมือผ่านบนกระดาษค่อนค้างทำได้ช้า และแก้ไขข้อมูลจะยากลำบากกว่าการเขียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์มาก เทียบได้กับงานเขียนแบบเมื่อก่อนจะเน้นเขียนด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีโปรแกรม AutoCAD มาทดแทนการเขียนด้วยมือเกือบทั้งหมดแล้ว ในส่วนแผนที่ความคิดก็เช่นกันการเขียนแผนที่ความคิดด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันมีผู้คิดค้นโปรแกรมที่ใช้เขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping Software) ออกมาจำนวนมาก ทำให้การเขียนแผนที่ความคิดง่ายไปกว่าเดิมมาก อีกทั้งผู้เขียนสามารถเขียนและแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้อย่างอิสระในตัวโปรแกรมมีรูปแบบแผนที่ความคิด (Template) ไว้ให้ผู้ใช้เลือกใช้งานมากมาย

เครื่องมือในการเขียนแผนที่ความคิดด้วยคอมพิวเตอร์ในการเขียนแผนที่ความคิดด้วยคอมพิวเตอร์นั้นผู้ที่สอนเรื่องทฤษฎีนี้ (ในที่นี้อาจหมายถึงครู อาจารย์ วิทยากร หรือผู้มีความรู้) ควรมีการเตรียมสื่อในการสร้าง Mind Map ดังนี้
ชุดเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด
เครื่องพิมพ์ 1 ชุด
โปรแกรมเขียนแผนที่ความคิด เช่น MindManager, FreeMind, ConceptDraw, NovaMind
หัวเรื่องที่ต้องการสร้างแผนที่ความคิด โดยหัวเรื่องก็ขึ้นอยู่กับระดับของผู้เรียน และระดับการศึกษา

1. เริ่มต้นด้วยเขียนหัวเรื่องหลักของแนวคิด (Concept/Central Topic) ที่กึ่งกลางจอภาพ
2. ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ ในการสื่อผ่านแผนที่ความคิดให้มากที่สุด เพราะรูปภาพจะทำให้จดจำได้ง่าย
3. สร้างเส้นออกจากจุดศูนย์กลาง ความคิดหลัก (Ideas / Main Topic) ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
4. สร้างวงรีต่อจากเส้นความคิดหลักในข้อ 3
5. พิมพ์ความคิดหลัก พร้อมวาดรูปที่เกี่ยวข้องประกอบ
6. สร้างเส้นความคิดย่อยย่อยออกจากความคิดหลัก เป็นกิ่งๆ คล้ายกิ่งต้นไม้
7. สร้างวงรีต่อจากเส้นความคิดย่อยในข้อ 6
8. เขียนความคิดย่อย (Subtopic) พร้อมวาดรูปที่เกี่ยวข้องประกอบ
9. ย้อนทำตามข้อ 3 – 8 จนเนื้อหาครบสมบูรณ์

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างแผนที่ความคิด (Mind Mapping Software)
ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างแผนที่ความคิดมีให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วยกันโดยสามารถแยกโปรแกรมในการสร้างแผนที่ความคิดได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
Commercial Mind Mapping Software เป็นโปรแกรมใช้สร้างแผนที่ความคิดที่บริษัทเอกชนพัฒนาขึ้นมาเพื่อการค้าโดยเฉพาะ
Open Source Mind Mapping Software เป็นโปรแกรมใช้สร้างแผนที่ความคิดฟรีลักษณะ Open Source ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี

จะเห็นได้ว่าการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map) สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้แทบทุกอย่างและมีประโยชย์อย่างมาก หากครู อาจารย์นำไปใช้ในแวดวงการศึกษาในการสอนเด็กตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ไปจนกระทั่งระดับปริญญาเอก ให้นักเรียน / นักศึกษา ฝึกใช้สมองในเขียนเขียนแผนที่ความคิดในรายวิชาต่างๆ อาทิ เขียนโครงงาน, สรุปเนื้อหารายวิชา สรุปผลการวิจัย ฯลฯ

Program >>>>
http://www.mediafire.com/?4ur97ez6gx9j5m8

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.arnut.com/mindmap/

ลองนำไปใช้ดูนะคะ การเขียน mind map จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ
ได้ดีขึ้น สนุกในการอ่าน และจำได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ

อ.น้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น