1. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Tyler
แนวคิดTyler (1949 : 1) อ้างถึงในทัศนีย์ บุญเติม (2549 : 30-41) ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร มี
1) จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่โรงเรียนต้องการจะบรรลุมีอะไรบ้าง
2) ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่จะต้องมี
3) จัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านี้ให้มีประสิทธิผลได้อย่างไร
4) จะระบุอย่างไรว่าได้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่กำหนดนั้นแล้วหรือไม่
Tyler ได้แนะนำว่า ครูควรให้ความสนใจกับประสบการณ์การเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ
1) การพัฒนาทักษะในการคิด
2) การช่วยให้ได้รับข้อสนเทศมา
3) การช่วยพัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4) การช่วยพัฒนาประโยชน์หรือความสนใจของผู้เรียน
2. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Taba อ้างถึงในทัศนีย์ บุญเติม (2549 : 37-38)
1) การวินิจฉัยความต้องการจำเป็น (Diagnosis of needs)
2) การกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Formulation of objectives)
3) การคัดเลือกเนื้อหาสาระ (Selection of content)
4) การกำหนดโครงสร้างวินิจฉัยความต้องการจำเป็น (Organization of content)
5) การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (Selection of learning experiences)
6) การกำหนดโครงสร้างของประสบการณ์การเรียนรู้ (Organization of learning experiences)
7) การกำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ (Determination of evaluate and of the ways and means of doing it)
เมื่อพิจารณาจากกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ Taba เห็นได้ว่ากระบวนการทั้ง 7 ขั้นนี้ยังอยู่ในขั้นตอนแรกของระบบพัฒนาหลักสูตร คือ การเตรียมการใช้หลักสูตรเท่านั้น
จากแนวคิดดังกล่าว จึงนำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่ปรับขยายแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของ Tyler และ Taba ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเน้นด้านพื้นฐานของหลักสูตร เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น
ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมาย จุดมุ่งหมาย และขอบเขต (Goals, Objectives, and Domains)
ขั้นที่ 2 การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
ขั้นที่ 3 การใช้หลักสูตร (Curriculum Implementation)
ขั้นที่ 4 การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
การพัฒนาหลักสูตรเน้นหนักในด้านพื้นฐานของหลักสูตร การเลือกกิจกรรมให้กับผู้เรียน ความละเอียด รอบคอบในการเชื่อมโยงหลักสูตรสู่การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธีการสอน การใช้ทรัพยากร สื่อ และวัสดุ ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการเรียนการสอน
3. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของทัศนีย์ บุญเติมและคณะ
ทัศนีย์ บุญเติม (2549: 11) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรถึงขั้นตอนและวิธีการเชิงบรรยาย เพื่อให้เข้าใจง่ายผู้รวบรวมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในทุก ๆ ด้าน เช่น ประวัติหรือปรัชญาการศึกษาสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ผู้เรียน จิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎีการเรียนรู้ธรรมชาติของเนื้อหา เป็นต้น รวมทั้งการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อให้รู้ข้อมูลต่าง ๆ
ขั้นที่ 2 ต่อจากนั้นจึงดำเนินการร่างหลักสูตร สำเร็จเอกสารหลักสูตรหรือหลักสูตรแม่บท ซึ่งผลจากการร่างหลักสูตรนี้อาจจะได้เอกสารและวัสดุประกอบหลักสูตรอีกด้วย
ขั้นที่ 3 ประเมินผลระบบการร่างหลักสูตร คือ ประเมินปริบท
ขั้นที่ 4 การใช้หลักสูตร ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญเป็นขั้นตอนของการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอนเพื่อให้การใช้หลักสูตรมีประสิทธิผล คือ ผลผลิตของหลักสูตรหรือผู้ผ่านหลักสูตร ต้องมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรมุ่งหวัง ยังมีการประเมินระบบการใช้หลักสูตรอีกด้วย โดยพิจารณาจากปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์
ขั้นที่ 5 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร ซึ่งอาจจะจะต้องมีการประเมินทันที เช่น ความพึงพอใจของผู้ใช้ผลผลิตของหลักสูตร ประเมินผลกระทบที่มีต่อสังคม