Math for Early Childhood
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆจากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...
ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ?
ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง
เรื่องอะไรบ้าง
เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า
เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้วเรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
หลายคนเข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก....เช่น
รูปทรง
การจับคู่
การชั่งตวงวัด
การเปรียบเทียบ
การจัดลำดับ
การจัดประเภท ฯลฯ
คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี
อยู่จริงในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือเรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้
1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
1.2 การจัดหมวดหมู่
1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน
2.1 การนับจำนวน
2.2 การรู้ค่าของจำนวน
2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
3.ทางด้านมิติสัมพันธ์
3.1 เข้าใจตำแหน่ง
3.2 เข้าใจระยะ
3.3 การเข้าใจทิศทาง
3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ
4.ทักษะทางด้านเวลา
4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์
4.3 ฤดูกาล
5.ทักษะการคิด
5.1 ทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
5.2 การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
5.3 ความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์
5.4 การคิดแก้ปัญหา
6.ทักษะการใช้ภาษา
6.1 ทักษะการฟัง
6.2 ทักษะการพูด
6.3 ทักษะการอ่าน
6.4 ทักษะการเขียน
7.กิจกรรมที่ใช้ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการคิด
7.1 นิทานคณิตศาสตร์
7.2 การสนทนา อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
อ้างอิงจาก :
1. เรียนคณิตศาสตร์ด้วยการเล่น แปลและเรียบเรียงโดย ดร.วรนาท รักสกุลไทย
2. นวัตกร ศศิธร Chocolate_Cake (ผู้เขียน อาจารย์สิริมณี บรรจง)