หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สวัสดีปีใหม่นะคะ



ขอให้ทุกๆคน มีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง และต้อนรับปีใหม่ด้วยความสุข ร่าเริง แจ่มใส

สู้ๆต่อไปจ้า

อ.น้ำ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

 
ในปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทุกสาขา จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ หรืองานวิจัย หรือ Thesis หรือ Dissertation เพื่อนำเสนอขอรับปริญญามหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิต ในสถาบันที่ศึกษาอยู่ ตลอดจนการทำวิจัยของนักวิจัยที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ หรือครูที่ทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพ และข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงปริมาณ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม SPSS ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากใช้งานได้ง่าย และสามารถหามาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้โปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อันจะเห็นได้จาก รุ่นของโปรแกรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

เอกสารต่อไปนี้ ได้อ้างอิงมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการทำวิจัย นักศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถดาวโหลดได้ที่นี่ค่

>>>>> http://www.mediafire.com/?63dlqfmdpiosq7n

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิธีการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
       การจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก มีวิธีการมากมายที่ครูควรจัดให้ ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ ไม่มีวิธีการจัดประสบการณ์วิธีใดดีที่สุด แต่ละวิธีจะมีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน

      




1. การจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการหรือทดลอง  การจัดประสบการณ์วิธีนี้ เด็กจะเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำช่วยเหลือ เด็กทุกคนจะมีโอกาสได้เรียนรูจากการปฏิบัติจริง ได้จัดกระทำกับวัสดุอุปกรณ์ และศึกษาด้วยตนเอง เช่น การทดลองการลอยและจม การเกิดรุ้งกินน้ำ การปลูกถั่วงอก การผสมสี เป็นต้น

      
2. การจัดประสบการณ์โดยการเล่านิทาน  จะเป็นการนำเรื่องราวของนิทานมาเล่าสู่กันฟัง เด็กจะได้รับความสนุกสนานจากนิทาน และยังสามารถสอดแทรกความคิด คุณธรรมที่ดีงามให้แก่เด็ก ซึ่งจะเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติตามที่ถูกที่ควร ในการดำรงชีวิตในสังคม

      
 3. การจัดประสบการณ์แบบการแสดงบทบาทสมมุติ วิธีนี้จะเป็นการนำการแสดงบทบาทสมมุติมาใช้เป็นเครื่องมือและวิธีการในการสอนของครู เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจได้ลึกซึ้ง ซึ่งจะเป็นการสร้างสถานการณ์หรือสมมุติ โดยให้เด็กแสดงออกมาตามที่คิดและจินตนาการ หลังจากนั้นจะนำเอาการแสดงออก ทั้งที่เป็นความรู้และพฤติกรรมมาพูดคุยอภิปรายกัน เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ธนาคาร ร้านเสริมสวย ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

      


4. การจัดประสบการณ์แบบสาธิต ครูจะเป็นผู้ทำให้ดู ทำให้เห็น และมีการชี้แนะให้ทำตาม เช่น การจัดประสบการณ์เรื่อง การทำแผล การล้างผักหรือผลไม้ เป็นต้น

     




5. การจัดประสบการณ์โดยใช้เกม  การจัดประสบการณ์ในลักษณะนี้ เด็กๆ จะได้รับความสนุกสนาน แต่จะมีกฏเกณฑ์ กติกา เข้ามา อาจเป็นเกมที่เงียบหรือเกมที่ต้องใช้ความว่องไวในการเล่น การเล่นอาจเล่นเป็นกลุ่ม เล่นสองคน เล่นคนเดียว เกมการเล่นนี้ จะกระตุ้นการทำงานของสมองหรือร่างกาย หรืออาจฝึกทักษะบางส่วนของร่างกายและจิตใจเป็นพิเศษได้

      
6. การจัดประสบการณ์แบบสนทนาอภิปราย  การจัดประสบการณ์วิธีนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างครูกับเด็ก หรือเด็กกับเด็กกันเองก็ได้ โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน แต่มีสิ่งที่ครูพึงระมัดระวังคือ ไม่ตอบปัญหาให้เด็กก่อนที่เด็กจะคิดตอบปัญหาด้วยตัวของเขาเอง ครูควรจะเป็นเพียงผู้แนะนำให้เด็กคิดไปตามลำดับ จนถึงจุหมายปลายทางที่ต้องการ นั่นคือ คำตอบ วิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ทำให้เด็กรู้จักคิดเป็น




7. การจัดประสบการณ์แบบศึกษานอกสถานที่
เป็นวิธีการจัดประสบการณ์ที่ครู พาเด็กๆไปศึกษาสภาพความเป็นจริง อาจเป็นนอกห้องเรียน รอบๆ บริเวณโรงเรียน หรือนอกโรงเรียน ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติให้กับเด็ก

      








 

 

8. การจัดประสบการณ์แบบเชิญวิทยากร เป็นการจัดประสบการณ์โดยการเชิญบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งอาจเป็นผู้ปกครองของเด็ก มาพูดคุยกับเด็กหรืออาจมาร่วมกิจกรรมกับเด็กในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก อาทิ แพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร พ่อค้าแม่ค้า ชาวนา บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจเป็นบุคคลในอาชีพต่างๆ ที่เด็กรู้จักคุ้นเคย ทั้งนี้หัวข้อเรื่องที่วิทยากรจะมาพูดคุย ควรเป็นเรื่องที่เด็กๆ สนใจ

      


 อย่างไรก็ดี ไม่มีวิธีการจัดประสบการณ์วิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด การจัดประสบการณ์ที่ดี จะเป็นการจัดประสบการณ์ที่จัดแล้วเหมาะสมกับวัย โอกาส และเป็นสิ่งที่เด็กสนใจ นั่นคือวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย







การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Math for Early Childhood
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆจากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...

ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ?
ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง
เรื่องอะไรบ้าง
เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า
เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้วเรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
หลายคนเข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก....เช่น
รูปทรง
การจับคู่
การชั่งตวงวัด
การเปรียบเทียบ
การจัดลำดับ
การจัดประเภท ฯลฯ

คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี
อยู่จริงในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือเรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัว

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้
1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
1.2 การจัดหมวดหมู่
1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน
2.1 การนับจำนวน
2.2 การรู้ค่าของจำนวน
2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน

3.ทางด้านมิติสัมพันธ์
3.1 เข้าใจตำแหน่ง
3.2 เข้าใจระยะ
3.3 การเข้าใจทิศทาง
3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ

4.ทักษะทางด้านเวลา
4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์
4.3 ฤดูกาล

5.ทักษะการคิด
5.1 ทักษะการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
5.2 การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
5.3 ความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์
5.4 การคิดแก้ปัญหา

6.ทักษะการใช้ภาษา
6.1 ทักษะการฟัง
6.2 ทักษะการพูด
6.3 ทักษะการอ่าน
6.4 ทักษะการเขียน
7.กิจกรรมที่ใช้ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการคิด
7.1 นิทานคณิตศาสตร์
7.2 การสนทนา อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

อ้างอิงจาก :
1. เรียนคณิตศาสตร์ด้วยการเล่น แปลและเรียบเรียงโดย ดร.วรนาท รักสกุลไทย
2. นวัตกร ศศิธร Chocolate_Cake (ผู้เขียน อาจารย์สิริมณี บรรจง)